วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อำเภอด่านขุนทด

เที่ยวชุมชนไทย Thailand Community

ข่าวประชาสัมพันธ์

            มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเปิดรับสมัครนักศึกษา (ภาคนอกเวลาราชการ)สาขาการบริหารและการพัฒนาชุมชน ….. (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)


นครราชสีมา (Nakhonratchasima)

อำเภอด่านขุนทด (Amphoe Dan Khun Thot)

คำขวัญอำเภอด่านขุนทด
หลวงพ่อคูณ  ปริสุทฺโธ
โคพันธุ์ดี  ถิ่นที่พริกจินดา  งามตาผ้าไหม  หม้อดินด่านใน  โอ่งใหญ่กุดม่วง




ประวัติความเป็นมาของอำเภอด่านขุนทด
เรื่องราวที่เป็นตำนานชาวด่านขุนทด ที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นลายลักษณ์อักษรในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ได้กล่าวถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตอนปราบชุมชนต่างๆและปรากฏในการปราบชุมนุมพระเจ้าพิมายโดยกล่าวไว้ว่า "ฝ่ายพระเจ้าพิมายได้ทราบข่าวศึก  จึงแต่งตั้งให้พระยาวรวงศาธิราช(พระยาน้อย) ยกกองทัพลงมาตั้งค่ายรับอยู่ ณ ด่านขุนทด  ทางหนึ่ง และให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  พระยามนตรี กับทั้งมองญา ยกกองทัพมาตั้งค่ายรับอยู่บ้านจอหอทางหนึ่ง" และ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าตากสิน) จึงดำรัสให้ พระมหามนตรี และพระราชวรินทร์  ยกกองทัพไปตีทัพพระยาวรวงศาธิราชซึ่งตั้ง ณ ด่านขุนทด นั้น" จึงกล่าวได้ว่าด่านขุนทดมีกำเนิดมาก่อนรัชสมัยของพระเจ้าตากสินค่อนข้างแน่ชัด
            อำเภอด่านขุนทด มีประวัติเท่าที่รวบรวมค้นหาหลักฐานได้ ในด้านตัวบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือสืบเชื้อสายปกครองดูแลด่านขุนทด  คอยเก็บส่วยอากรไปยังแขวงสันเทียะ มีพระเสมารักษาเขตเป็นผู้ปกครองดูแลรักษาด่าน โดยมีที่ทำการอยู่ที่วัดโพธิ์ชุมพล (วัดโคกรักษ์)  ต่อมาพระเสมารักษาเขตถึงแก่อนิจกรรมพระประเวชเข้มแข็ง บุตรชายได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทน ต่อมาในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง   ชุมชนด่านขุนทดจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2451 (ร.ศ.127) เมื่อได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอ ได้ย้ายที่ทำการจากวัดโพธิ์ชุมพล (บ้านโคกรักษ์) มายังบริเวณตะวันตกของโรงเรียนบ้านหาญในปัจจุบัน และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านหาญ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพันชนะ ครั้นปี พ.ศ. 2456  จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอด่านขุนทด อีกครั้งหนึ่ง
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอด่านขุนทดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ             ติดต่อกับอำเภอบำเหน็จณรงค์และอำเภอจัตุรัส (จังหวัดชัยภูมิ)
ทิศตะวันออก       ติดต่อกับอำเภอพระทองคำและโนนไทย
ทิศใต้                ติดต่อกับอำเภอขามทะเลสอ อำเภอสูงเนินและอำเภอสีคิ้ว
ทิศตะวันตก         ติดต่อกับอำเภอเทพารักษ์และอำเภอลำสนธิ (จังหวัดลพบุรี)
พื้นที่ : 1,428.1  ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 126,457  คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น : 88.54 คน / ตารางกิโลเมตร
การปกครองส่วนภูมิภา : อำเภอด่านขุนทด แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น
                                                 16 ตำบล 225 หมู่บ้าน
ที่ตั้ง : ที่ว่าการอำเภอด่านขุนทด ถนนสีคิ้ว-ชัยภูมิ ตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด
             จังหวัดนครราชสีมา 30210  โทรศัพท์ : 044-389404, 044-389155
             โทรสาร : 044-389404, 044-389155
             อีเมล์ : name@koratooc.com

สถานที่ที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอด่านขุนทด

วัดบ้านไร่ (Wat Ban Rai)




 
ตั้งอยู่ที่ตำบลกุดพิมาน จากตัวเมืองเดินทางตามถนนมิตรภาพ ถึงกิโลเมตรที่ 237 แยกขวาผ่านขามทะเลสอและบ้านหนองสรวงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด ระยะทาง 60 กิโลเมตร จากด่านขุนทดใช้ทางหลวงหมายเลข 2217 เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน อ.ด่านขุนทด ได้ปลูกสร้างขึ้นเป็นสำนักสงฆ์เล็ก ๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2436 ซึ่งปัจจุบันวัดบ้านไร่ได้มีการพัฒนา มีผู้ใฝ่บุญจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาแสวงบุญ ณ วัดบ้านไร่ เวลา 19.00 น.ของทุกวันเพื่อสมาทานศีล ทำวัตรสวดมนต์ และรับฟังการอบรมบรรยายธรรมจากหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
             ส่วนพุทธศาสนิกชนจากที่อื่นมักไปแสวงบุญในเวลากลางวันในแต่ละวัน ประมาณ 300 - 500 คน และมีอุโบสถที่สวยงาม ชั้นล่างสร้างเป็นศาลาการเปรียญมีความยาว 40 เมตร กว้าง 29 เมตร ตัวบนสุดมีความยาว 24 เมตร กว้าง 8 เมตร พื้นที่ทั้งสองชั้นปูด้วยหินแกรนิต ผนังโบสถ์ และกำแพงแก้วก่อสร้างด้วยเซรามิก บานประตูหน้าต่าง ทุกช่องทำด้วยไม้เนื้อแข็งฝังมุ

พระตำหนักที่ประทับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (.......)





      อยู่ที่ตำบลห้วยบง เป็นพระตำหนักที่สมเด็จพระเทพรัตนราขสุดา สยามบรมราชกุมารี เคยทรงมาประทับเมื่อทรงดูงานเดี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังซึ่งอยู่ในศูนย์พัฒนาผลผลิตมันสำปะหลังตำบลห้วยบงเลี้ยวขวาสี่แยกตลาดทรัพย์สมบูรณ์เลยหน้าที่ทำการบริหารส่วนตำบลไปประมาณ 2 กิโลเมตรมีบรรยากาศที่ร่มรื่น และศึกษาดูงานเกี่ยวกับกระบวนการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของไทย

อ่างเก็บน้ำลำปราสาทใหญ่ (Lam Prasatyai Reservoir)





    อยู่ที่ตำบลห้วยบง เป็นอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในการควบคุมดุแลของกรมชลประทาน ซึ่งอยู่ในเขตตำบลห้วยบง บนเส้นทางกุดม่วง-ชัยบาดาล อยู่ห่างจากตัวที่ว่าการอำเภอด่านขุนทดประมาณ 30 กก. ซึ่งมีบรรยากาศที่เหมาะกับทางพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด หรือการตกปลา และ มีทัศนียภาพที่สวยในยามเย็นขณะที่พระอาทิตย์ตก


 
                                                             
แผนที่อำเภอด่านขุนทด




 ที่ตั้ง   อำเภอด่านขุนทด  ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช  สูงจากระดับน้ำทะเล  200-400  เมตร  โดยมีพื้นที่ลาดชันจากทิศตะวันตกลาดลงทิศตะวันออก  ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ระยะทางรถยนต์  60  กิโลเมตร  อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ  257  กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมด  1,405.30  ตารางกิโลเมตร  หรือ  878,303  ไร่
อาณาเขต 
   ทิศเหนือ  ติดต่อ  อำเภอเทพสถิต  อำเภอบำเหน็จณรงค์  อำเภอจัตุรัส  จังหวัดชัยภูมิ
   ทิศใต้       ติดต่อ  อำเภอสีคิ้ว  อำเภอสูงเนิน  จังหวัดนครราชสีมา
   ทิศตะวันออก  ติดต่อ  กิ่งอำเภอพระทองคำ  อำเภอโนนไทย  อำเภอขามทะเลสอ  จังหวัดนครราชสีมา
   ทิศตะวันตก    ติดต่อ  กิ่งอำเภอเทพารักษ์  จังหวัดนครราชสีมา  และอำเภอลำสนธิ  จังหวัดลพบุรี
 สภาพภูมิประเทศ  สภาพพื้นที่ของอำเภอเป็นที่ราบสูง  มีภูเขาอยู่ทางทิศตะวันตกลาดลงทางทิศตะวันออก  สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและเป็นดินเค็ม  50%  มีแหล่งน้ำขนาดเล็ก  เช่น  ลำเชียงไกร  ลำปราสาท  ลำสามบาท  ห้วยโปร่ง  ห้วยจระเข้น้อย  ห้วยทราย  ห้วยพุทรา  ห้วยน้อย  ห้วยโปร่งยายชี    ห้วยจับพง  ห้วยล้ำลุงและ  ห้วยคลองแค  จะมีน้ำขังในฤดูฝน  ฤดูแล้งแห้งขอดสภาพพื้นที่อาศัยน้ำฝน  99%  มีอ่างเก็บปราสาทเก็บน้ำได้  8  ล้านลูกบาศก์เมตร
 พื้นที่ป่า  มีทิวเขาด้านทิศตะวันตกประกอบด้วย  เขาน้อย  เขาผังเหย  เขาผาแดง  และมีสภาพพื้นที่ป่าสงวนและป่าที่สาธารณะประมาณ  43,830  ไร่  เป็นป่าเบญจพรรณ  ป่าเสื่อมโทรมได้ยกให้  สปก.  และออกเอกสาร  สปก.4-01  ไปบ้างแล้ว
อุณหภูมิ  ต่ำสุด 14°c  สูงสุด  41.1°c  ลักษณะอากาศ  เป็นแบบมรสุมมี  3  ฤดู  คือ
                                -  ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน
                                -  ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม
                                -  ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
 แหล่งน้ำและปริมาณน้ำฝน  แหล่งน้ำที่สำคัญประกอบด้วย  ลำเชียงไกร  ลำปราสาท  ลำสามบาท  ห้วยโปร่ง  ห้วยจระเข้  ห้วยทราย  ห้วยพุทรา  ห้วยน้อย  ห้วยโปร่ง  ห้วยยายชี  ห้วยจับพง  ห้วยลำลุงและห้วยคลองแค  ลำน้ำส่วนใหญ่จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนและแห้งขอดในฤดูแล้งมีฝายตามลำคลอง  มีอ่างเก็บน้ำปราสาทเก็บน้ำได้  8  ล้านลูกบาศก์เมตร  มีบึง  สระสาธารณะและบ่อน้ำหัวไร่ปลายนา  น้ำบาดาล
บางพื้นที่เค็ม และน้ำในลำห้วยบางพื้นที่จะเค็มจัดในฤดูแล้ง  ปริมาณน้ำฝนปี  2540-2550 เฉลี่ยตลอดปีต่ำสุด  655.60  มม.  สูงสุด  1082.1  มม.
 เส้นทางคมนาคม  
                       มีถนนสายหลัก  7  สาย  คือ
                                ก.  สายด่านขุนทด-ชัยภูมิ
                                ข.  สายด่านขุนทด-นครราชสีมา
                                ค.  สายด่านขุนทด-อำเภอชัยบาดาล  จังหวัดลพบุรี
                                ง.  สายด่านขุนทด-อำเภอบำเหน็จณรงค์
                                จ.  สายด่านขุนทด-อำเภอสีคิ้ว
                                ฉ.  สายด่านขุนทด-กิ่งอำเภอเทพารักษ์
                                ช.  สายด่านขุนทด-อำเภอสูงเนิน
                                สำหรับถนนในหมู่บ้าน  ตำบล  มีทั้งถนนคอนกรีต  ลาดยาง  ลูกรัง  ผ่านเข้าออกได้ตลอดฤดูกาลทุกหมู่บ้าน








         
  หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

 • วัดบ้านไร่   ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา

           เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน อ.ด่านขุนทด

           เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน อ.ด่านขุนทด หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้ปลูกสร้างขึ้นเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2496 โดยเริ่มสร้างอุโบสถ มีชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก ไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จ ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก อาศัยโคเทียมเกวียนหรือใช้แรงงานคนลากจูงบนทางที่แสนทุรกันดาร แต่หลวงพ่อคูณก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย ปัจจุบันวัดบ้านไร่ได้มีการพัฒนาและมีผู้ใฝ่บุญจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาแสวงบุญ              วัดบ้านไร่ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัด เป็นสถานที่จำพรรษาของพระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ในแต่ละวันมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณเป็นจำนวนมาก ตรงหน้าปากทางเข้าวัดบ้านไร่ มีการตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นระเบียบสวยงาม พร้อมทั้งทำความสะอาดป้ายวัดบ้านไร่ด้วย ส่วนถนนหน้าโรง เรียนวัดบ้านไร่ เข้าไปในวัดบ้านไร่ ยังมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อในบ้างช่วง ครั้นมาถึงบริเวณหน้าวัดบ้านไร่ เข้าไปจะพบเห็นหน้าพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณที่สวยงาม และเพิ่งเปิดให้คนทั่วไปได้เข้าชม ด้านหลังพิพิธภัณฑ์ติดกับสระจระเข้ มีการตั้งร้านค้าขายของ ที่ได้ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบไม่วุ่นวาย ท้ายวัดเป็นป่าละเมาะเล็กๆ มีต้นไม้ใหญ่ปลูกให้ร่มรื่น ส่วนข้างอุโบสถวัดบ้านไร่ และบริเวณโดยรอบอุโบสถ ถูกจัดแต่งเป็นสวนหย่อมเล็กๆ มีไม้ประดับงดงาม  




  • ข้อมูลประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ 

  • หลวงพ่อคูณ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ 1. หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ 2. นางคำมั่น แจ้งแสงใส 3. นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์ มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี 3 นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า "เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป" และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่นางด้วย "ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง"
  • การศึกษา 

  • เนื่องด้วยบุรพกรรมและสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน บิดามารดาของหลวงพ่อคูณ ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้ง ๓ คน ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้อง ๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่หลวงพ่อคูณอยู่ในวัยเยาว์ ๖-๗ ขวบ ได้เข้าเรียนหนังสือ กับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ สถานการศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้าน มิได้มีโรงเรียนทำการสอนเช่นในสมัยปัจจุบัน นอกจากเรียนภาษาไทยและขอมแล้ว พระอาจารย์ทั้ง ๓ ยังมีเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย นับว่าหลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย
  • อุปสมบท 

  • หลวงพ่อคูณอุปสมบท เมื่ออายุได้ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๘๗ (หนังสือบางแห่งว่า ปี ๒๔๘๖) ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก โดยพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ คือพระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา (บางตำรากล่าวว่าเมื่อบรรพชาแล้วได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อคง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดถนนหักใหญ่ก่อน แล้ว หลวงพ่อคงจึงนำไปฝากกับหลวงพ่อแดง) หลวงพ่อแดง เป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและลูกศิษย์เป็นอย่างมาก

     หลวงพ่อคูณตั้งใจร่ำเรียนพระธรรมวินัย ตามรอยพระพุทธองค์ ที่ตรัสไว้ว่า... " เทว เม ภิกขเว วิชชา ภาคิยา" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ

  •  หลวงพ่อคูณตั้งใจร่ำเรียนพระธรรมวินัย ตามรอยพระพุทธองค์ ที่ตรัสไว้ว่า... " เทว เม ภิกขเว วิชชา ภาคิยา" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ 


  •       ๑ สมถะ ความสงบระงับแห่งจิตที่ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งปวง 
  •       ๒ วิปัสสนา ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมเบื้องสูงอันสุขุมลุ่มลึก ในทางพุทธศาสนาและจงเดินตามหนทางนั้นเถิด 

  • หลวงพ่อคูณ ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้ เป็นเพื่อนกันต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ 

  • หลวงพ่อคง พุทธฺสโร เป็นพระอาจารย์ผู้ทรงคุณทั้งทางธรรม และทางไสยเวทย์ และได้อบรมสั่งสอนให้กับหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ด้วยความรักใคร่มิได้ปิดบังอำพราง โดยการให้การศึกษาพระธรรมควบคู่กับการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน น้นเรื่องการมี "สติ" ระลึกรู้ พิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบและให้เกิดความรู้เท่าทัน ในอารมณ์นั้น เช่น เมื่อเกิดอารมณ์ "หลง" ท่านให้พิจารณาว่า

  • "อนิจจัง ไม่เที่ยง
  •   ทุกขัง เป็นความทุกข์ 
  •   อนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นนาม จึงมิใช่ของเราและของเขา
  •   และท่านจึงให้แนวทางพิจารณา 5 ประการ คือ 
  •   พิจารณาว่า ความเกิดเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเกิดนี้ได้
  •   พิจารณาว่า ความแก่เป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความแก่นี้ได้
  •   พิจารณาว่า ความเจ็บเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเจ็บนี้ได้
  •   พิจารณาว่า ความตายเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความตายนี้ได้ 
  •   พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นเรื่องธรรมดา เรามีกรรมเป็นของตนเอง เรากระทำความดี จักได้ดี เรากระทำความชั่ว จักได้ชั่ว" 

  • ส่วนพระกัมฏฐานนั้น หลวงพ่อคงได้สอนให้ใช้หมวดอนุสติ โดยดึงเอาวิธีกำหนด ความตายเป็นอารมณ์ เรียกว่า มรณัสสติเพื่อให้ เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงในในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ประมาทในความโลภ ความโกรธ และ   ความหลง กำหนดลมหายใจเข้าออกทำจิตให้เกิด สัมมาสมาธิ เรียกว่า อานาปานสติเวลาล่วงเลยนานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป แรก ๆ หลวงพ่อคูณก็ธุดงค์ จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกล ๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศเขมร มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้น จากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง 
  • สู่มาตุภูมิ 

  •  หลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางจากประเทศเขมรสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตด้านจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุทาง พระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างอุโบสถ พ.ศ.๒๔๙๖ โดยชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จแล้ว ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก โดยอาศัยโคเทียมเกวียนบ้าง ใช้แรงงานคนลากจูง บนทางที่แสนทุรกันดาร เนื่องจากถนนทางเกวียนนั้นเป็นดินทรายเสียส่วนใหญ่ เมื่อต้องรับน้ำหนักมากก็มักทำให้ล้อเกวียนจมลงในทราย การชักจูงไม้แต่ละเที่ยวจึงต้องใช้เวลาถึง 3-4 วัน 

  •  แต่กระนั้นหลวงพ่อก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างพระอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากสร้างพระอุโบสถแล้ว หลวงพ่อยังสร้างโรงเรียน กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ รวมทั้งขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ยังความสะดวกสบาย และความเจริญในบ้านไร่ยิ่งนัก แม้ปัจจุบันจะไม่ได้เห็นสิ่งดังกล่าว เนื่องจากหลวงพ่อได้เปลี่ยนสิ่งก่อสร้างดังกล่าวทั้งหมด มาเป็นปูนเป็นอิฐให้สวยงามและทนทานยิ่งขึ้น 

  • นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่อุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย นอกเหนือจากนั้น หลวงพ่อยังได้สร้างโรงพยาบาล โรงเรียน ตลอดจนบริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ

  • คำสอน

  •  "คนเรา เมื่อมีเมตตาให้กับผู้อื่น ผู้อื่นเขาก็จะ ให้ความเมตตาตอบสนองต่อเรา ถ้าเราโกรธเขา เขาก็จะโกรธเราตอบเช่นกัน ความเมตตานี่แหละ คืออาวุธ ที่จะปกป้องตัวเราเอง ให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง เป็นอาวุธที่ใคร ๆ จะนำเอาไปใช้ก็ได้ จัดว่าเป็นของดีนักแล"
  •  ปราชญ์แห่งที่ราบสูง

  •  บุคคลทั่วไปหากมิได้สัมผัสตัวตนที่แท้จริงของหลวงพ่อคูณ มักจะมีความเข้าใจว่า หลวงพ่อคูณเป็นพระที่แกร่งกล้าอาคม แต่หากได้พบและได้สนทนาธรรม จะทราบทันทีว่า ท่านคือ "ปราชญ์แห่งที่ราบสูง" หลวงพ่อคูณได้สนทนาธรรมกับหลาย ๆ คน ต่างกรรมต่างวาระแสดงให้เห็นความเป็นปราชญ์ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ทีท่าตรงไปตรงมาพูดจามึงกู แต่ภายในจิตวิญญาณของหลวงพ่อคูณท่านเป็นพระที่เป็นพระจริง ๆ คือมีจิตเมตตาเป็นที่ตั้ง แม้ในยามที่วัดบ้านไร่มีปัญหาหรือมีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างลูกศิษย์ หลวงพ่อคูณท่านได้ตัดสินใจเดินจากวัดบ้านไร่ไปอย่างเงียบ ๆ พร้อมทั้งปรัญชาที่ว่า "เป็นธรรมดา เปรียบเสมือนต้นไม้หากมีลูกไม้ ย่อมจะเป็นที่จิกกินของสัตว์หรือนกแม้กระทั่งคน หากแม้นเมื่อหมดลูกหมดผล ก็หมดการแก่งแย่ง แต่อีกไม่นานต้นไม้นั้นก็จะออกลูกออกผลมาให้ เป็นเช่นนี้เรื่อยไป" ไม่เคยมีใครพบเห็นหลวงพ่อคูณกราดเกรี้ยวหรือทุกขเวทนากับเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่เกิดขึ้นภายในวัดอันเนื่องจากรายได้ที่มากมายที่ประชาชนศรัทธาในบารมีของท่าน สิ่งที่หลวงพ่อคูณแสดงออกมาทุกครั้งในการให้สัมภาษณ์หรือสนทนาธรรม ได้แสดงให้เห็นว่า ท่านนั้นมีจิตที่แจ่มใส หมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลส เป็น "ปราชญ์แห่งที่ราบสูง" ที่พึ่งทางธรรมอย่างแท้จริง
  •  สร้างวัตถุมงคล 

  •  หลวงพ่อคูณสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่บวชแล้ว ๗ พรรษา โดยเริ่มทำวัตถุมงคล ซึ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ.๒๔๙๓ ใครขอ กูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจนเป็นคำกล่าวของท่าน เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ เมื่อมีผู้ถามว่า หลวงพ่อแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือกูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม….” “ถ้ามีใจอยู่กับ พุทโธให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่งยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก
    การปลุกเสกวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กีบท หัวใจพระคาถามีว่า
  • การปลุกเสกวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กีบท หัวใจพระคาถามีว่า 
               นะมะพะธะ 
               นโมพุทธายะ 
               พุทโธ และยานะ 
แต่ในการปลุกเสก หลวงพ่อคูณจะใช้วิธี อนุโลมปฏิโลม (การต่อตามและย้อนลำดับ) เรียกว่า คาบพระคาถา เมื่อนำหัวใจธาตุ ๔ คือ นะมะพะธะ มาใช้ หลวงพ่อคูณจะภาวนาด้วยจิตอันเป็นหนึ่ง(สมาธิ) ให้อักขระทั้ง ๔ นี้ เป็น ๑๖ อักขระ ดังนี้
 

               นะ มะ พะ ธะ
 
               มะ พะ ธะ นะ
 
               พะ ธะ นะ มะ
 
               ธะ นะ มะ พะ
 

               ระยะเวลาการปลุกเสกของท่านใช้เวลาไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับอารมณ์จิต ท่านเคยปรารภว่าเมื่อจะปลุกเสกวัตถุใด ใจต้องเป็นสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิ ปลุกเสกสิ่งใดก็ขลัง ระยะเวลาหนึ่งนาทีก็ดีแล้ว แต่หากใจไม่เกิดสมาธิ ปลุกเสกทั้งคืนทั้งวันก็ไม่มีผล อย่างนี้สู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า

แต่ในการปลุกเสก หลวงพ่อคูณจะใช้วิธี อนุโลมปฏิโลม (การต่อตามและย้อนลำดับ) เรียกว่า คาบพระคาถา เมื่อนำหัวใจธาตุ ๔ คือ นะมะพะธะ มาใช้ หลวงพ่อคูณจะภาวนาด้วยจิตอันเป็นหนึ่ง(สมาธิ) ให้อักขระทั้ง ๔ นี้ เป็น ๑๖ อักขระ ดังนี้ 
               นะ มะ พะ ธะ
 
               มะ พะ ธะ นะ
 
               พะ ธะ นะ มะ
 
               ธะ นะ มะ พะ
 

               ระยะเวลาการปลุกเสกของท่านใช้เวลาไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับอารมณ์จิต ท่านเคยปรารภว่าเมื่อจะปลุกเสกวัตถุใด ใจต้องเป็นสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิ ปลุกเสกสิ่งใดก็ขลัง ระยะเวลาหนึ่งนาทีก็ดีแล้ว แต่หากใจไม่เกิดสมาธิ ปลุกเสกทั้งคืนทั้งวันก็ไม่มีผล อย่างนี้สู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า

               นะ มะ พะ ธะ 
               มะ พะ ธะ นะ 
               พะ ธะ นะ มะ 
               ธะ นะ มะ พะ 
               ระยะเวลาการปลุกเสกของท่านใช้เวลาไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับอารมณ์จิต ท่านเคยปรารภว่าเมื่อจะปลุกเสกวัตถุใด ใจต้องเป็นสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิ ปลุกเสกสิ่งใดก็ขลัง ระยะเวลาหนึ่งนาทีก็ดีแล้ว แต่หากใจไม่เกิดสมาธิ ปลุกเสกทั้งคืนทั้งวันก็ไม่มีผล อย่างนี้สู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า

               ระยะเวลาการปลุกเสกของท่านใช้เวลาไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับอารมณ์จิต ท่านเคยปรารภว่าเมื่อจะปลุกเสกวัตถุใด ใจต้องเป็นสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิ ปลุกเสกสิ่งใดก็ขลัง ระยะเวลาหนึ่งนาทีก็ดีแล้ว แต่หากใจไม่เกิดสมาธิ ปลุกเสกทั้งคืนทั้งวันก็ไม่มีผล อย่างนี้สู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า
  •  ท่านั่งยอง

  • หลวงพ่อให้เหตุผลว่า เป็นท่าที่สบายที่สุด อีกทั้งเป็นลักษณะของคนเตรียมพร้อมที่ลุกเดินไปไหนมาไหนได้ทันที จะหยิบจับอะไรก็ง่ายและสะดวกในการทำงาน
  • การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ

  • หลวงพ่อคูณได้จัดสร้างโรงพยาบาลถึง 3 หลัง ตลอดจนโรงเรียน และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ยังได้บริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ ทุกๆวัน แต่ละเดือนเป็นจำนวนหลายแสนบาท "หลวงพ่อเป็นคนยากจนมาโดยกำเนิด จึงอยากคิดช่วยเหลือคนอื่น การนำเงินออกไปช่วยคนอื่น ก็จะมีคนบริจาคเรื่อยๆ ถ้าเก็บไว้จะทำให้ตนตาบอด ใจก็บอดอีกด้วย จึงอยากช่วยคนอื่นอยู่เรื่อยไป วันใดไม่มีคนมาขอเงิน ก็ไม่ค่อยสบายใจ
  • ข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติ 

  • หลวงพ่อคูณสั่งว่า เมื่อมีพระเครื่องของหลวงพ่อคูณติดตัว ให้ภาวนา "พุทโธ" ทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ละเว้นถ้อยคำด่าทอ ค่าพ่อแม่ตน และพ่อแม่บุคคลอื่น และอย่าผิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ให้สวยมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และหวงพ่อคูณย้ำว่า "ถ้ามีใจอยู่กับ พุทโธ ให้เป็นกลาง ๆ ไม่สอดส่ายไปที่ไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง...ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใด ๆ ในโลก" 
  •  คาถาที่หลวงพ่อคูณใช้บริกรรมเวลานั่งสมาธิ 
  • เวลาหายใจเข้า ให้บริกรรมว่า ตาย 
  • เวลาหายใจออก ให้บริกรรมว่า แน่ 
  • เป็นตายแน่... ตายแน่... ตายแน่ไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกสบาย จิตสงบ 
  • วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
  • หลวงพ่อคูณ  ร่วมสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปี พ.ศ.2512  ขณะพำนักจำพรรษาอยู่วัดแจ้งนอก  อ.เมือง  เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ไม่แพ้เหรียญรุ่นสร้างบารมี ปี 19  ซึ่งออกในนามวัดบ้านไร่






วัดบ้านไร่



วิหารเทพวิทยาคม


โคพันธุ์ดี


ถิ่นที่พริกจินดา



งามตาผ้าไหม
หม้อดินด่านใน

โอ่งใหญ่กุดม่วง



1 ความคิดเห็น:

  1. VideoDilk Fc video tutorial for beginners - YouTube
    Learn the basic functions of Fc video youtube downloader clip, which can be played as clipart, clipart clipart, clipart clipart, clipart video clipart.

    ตอบลบ