ภูมิปัญญาท้องถิ่นของ ชาวด่านขุนทด





ภูมิปัญญาท้องถิ่น การถักตะกร้า


ผู้ให้ข้อมูล คุณแม่ปราณี  ดีขุนทด
ที่อยู่บ้านเลขที่ 435 หมู่
6 บ้านซับพูล ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราสีมา

อุปกรณ์

โครงตะกร้า เชือก กรรไกร ไฟแฉก ไม้แทง



   





 วิธีการทำ


เตรียมเชือกและโครงตะกร้าไว้
แล้วนำเชือกพันติดกับโครงตะกร้า ต่อจากนั้นนำเชือกมามัดเป็นตีนตะขาบ มัดทั้งปากและก้นตะกร้า
แล้วร้อยเชือกตามรูตะขาบให้อยู่กึ่งกลาง ต่อไปมัดก้นตะกร้า เสร็จแล้ว
สามารถขึ้นลวดลายเป็นลายดอกต่างๆ ตามแนวตั้งของตะกร้า ต่อไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย คือ
การลงลายบริเวณหูหิ้วตะกร้า จากนั้นนำใส่ถุงสำหรับจำหน่าย








 

การเผาถ่านหลุม




ผู้ให้ข้อมูล นางเกษ  ศรียางนอก

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 108 ม.1 ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา


ประวัติความเป็นมา


การเผาถ่านนางเกษ ได้บอกว่าได้ทำมานานแล้วตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า สมัยโบราณ ไม่มีพวกเชื้อเพลิงชนิดอื่น ก็เลยต้องนำไม้มาเผาถ่าน เพื่อนำ
ไปเป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร และในหมู่บ้านก็มีการเผาถ่านกันมาก ถ้าบางคนมีทักษะก็จะประหยัดต้นทุน ในการเผาแต่ละครั้ง
พูดว่าง่ายก็ง่าย ยากก็ยาก แล้วแต่ฤดูกาล และนางเกษได้บอกว่าจะทำไปตลอดและได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานแล้ว







ขั้นตอนการทำ


1. ขุดหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร
2. เอาไม้มาขวางกับหลุม
3. เตรียมท่อนไม้มาใส่ในหลุด
4. เอาใบไม้มาใส่เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการเผา
5. นำดินมากลบไว้แล้วเจาะรูไว้สองข้างเพื่อเป็นรูระบาย
6. เผาประมาณ หนึ่งคืน ก็จะได้ถ่านไว้ใช้และขาย








การทอเสื่อกก


ผู้ให้ข้อมูล  นางจำปี  นุขุนทด

ที่อยู่ 23 ม.15 ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา


ประวัติความเป็นมา

 การใช้กกนำมาทำเสื่อมีมาตั้งแต่นานแล้วเพื่อเป็นการนำกกที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่มีอยู่มานำมาแปรรูป เพื่อใช้ประโยชน์
ในบ้าน และได้มีการพัฒนาทำรูปแบบหลายต่างๆ ด้วยการย้อมสี และทำลวดลายใหม่ขึ้นมา และไม่ได้ทำเฉพาะ เสื่อ แล้วมีการทำ หมอน
อาสนะ หมอนข้าง ที่รองแก้ว ซึ่งทำกันทั้งหมู่บ้าน



  



วัสดุอุปกรณ์


1. ด้ายหรือเส้นเอ็นพัฒน์
2. ไม่ส่งกก
3. ฟืม
4. โครงกี่ (กี่น้อยนาหนังพัฒน์)

วิธีการทำ


1. นำกกหรือไหลมากรีดออกเป็นเส้น นำไปตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์
2. เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสี ตามต้องการโดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมี อย่างดี ส่วนมากจะย้อมสีน้ำตาล สีขาว สีแดง และสีน้ำเงิน
3. นำเชือกไนลอน หรือเชือกเอนขึงที่ โฮมทดเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืม
4. นำกกหรือไหลสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อ
5. เมื่อสอดหรือไหลเข้าไปแล้ว ผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกันเป็นลายต่างๆ
6. ลายที่ทอเป็นประจำ และเป็นที่นิยม คือ ลายมัดหมี่ ลายธรรมชาติ ลายกระจับ
7. จากนั้นก็นำเสื่อกกที่ทอแล้วมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น หมอน อาสนะ หมอนทอฟฟี่(หมอนข้าง) ที่รองแก้ว










การไพรหญ้า


ผู้ให้ข้อมูล นายเจริญ  แนนจันทึก อายุ 69 ปี

อยู่บ้านเลขที่ 132 หมู่ 4

อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา

ประวัติความเป็นมา


เนื่องจากที่บ้านวังกระสวยมีหญ้าแฝกเป็นจำนวนมากจึงนำมาทำหญ้าแฝก
เพื่อให้เกิดประโยชน์ นำมาสานเป็นหลังคา
และขายทำให้มีอาชีพเสริม





ขั้นตอนการทำ


1. ไปตัดหญ้าแฝกแล้วตากให้แห้ง

2. ทำเป็นมัดๆ เพื่อง่ายในการจัดเก็บ

3. สานเป็นหลังคา








ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประดิษฐ์โต๊ะจากรากไม้


ผู้ให้ข้อมูล นายสมบัติ ฝ่ายสิงห์

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 354 หมู่
19 ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา

  

วิธีการทำ


นำรากไม้มาตัดตกแต่งให้เป็นรูปทรงที่ต้องการนำรากไม้ไปขัดและล้างให้สะอาด
เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วก็ใช้เครื่องขัดไม้ให้เนื้อไม้เก่าออกให้หมดจนเป็นสีขาวขุ่น
แล้วลงสีตาที่ต้องการเมื่อสีแห้งแล้วเราก็หาแผ่นไม้ที่พื้นเสมอตัดเป็นรูปทรงแล้วตีเข้ากับตอไม้เพื่อให้พื้นเสมอกันจากนั้นก็ตกแต่งให้สวยงามสามารถทำเป็นโต๊ะทานข้าว
โต๊ะเขียนหนังสือ และใช้ประดับบ้านก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น